วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,500 ไร่ เป็นสถานที่อนุรักษ์และรวบรวมพรรณไม้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่างๆ โดยจัดปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มอาคารเรือนกระจกบนยอดเขาที่มีทั้งความสวยงามและความรู้ ทำให้สวนแห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ศึกษาธรรมชาติด้านพืชและภูมิทัศน์ที่โดดเด่นมาก

การเดินทาง จาก อ.แม่ริม ใช้ทางหลวงหมายเลข 1096 (แม่ริม-สะเมิง) ประมาณ 12 กม. สวนสมเด็จฯ อยู่ทางซ้ายมือ

ประวัติ ในเดือน ต.ค.2534 คณะกรรมการว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมและมีมติว่าประเทศไทยยังไม่มีสวนพฤกษศาสตร์ที่แท้จริง จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นในเดือน มี.ค.2535 โดยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ.2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์ในภาคเหนือว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” 

อุทยานแห่งชาติเชียงดาว

อุทยานแห่งชาติเชียงดาว เป็นอุทยานแห่งชาติขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2543 มีพื้นที่ 1,123.33 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ป่าบางส่วนในเขต อ.เชียงดาว ต่อเนื่องกับดอยหลวงเชียงดาวที่ติดชายแดนไทย-พม่า บริเวณที่ตั้งอุทยานเป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็ก มีน้ำใสเหมาะสำหรับเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำที่เหมาะสำหรับลงอาบน้ำแร่ด้วย

ที่ตั้งและการเดินทาง ต.นาหวาย อ.เชียงดาว

รถยนต์ส่วนตัว จากตัว อ.เชียงดาว มุ่งหน้าไป อ.ฝาง เลี้ยวซ้ายที่สามแยกเมืองงาย เข้าทางหลวงหมายเลข 1178 ไปจนถึง ต.นาหวาย หลัก กม.24 มีทางแยกซ้ายมือเข้า อุทยานแห่งชาติเชียงดาว

รถประจำทาง นั่งรถสองแถวสายเชียงดาว-บ้านอรุโณทัย

สิ่งน่าสนใจ
น้ำตกศรีสังวาล เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็กที่มีน้ำตลอดปี ห่างจากที่ทำการประมาณ 100 ม.สายน้ำจะไหลลดหลั่นลงมาตามห้าผาสูงประมาณ 20 ม. จนเกิดเป็นชั้นต่างๆ สามชั้น แอ่งน้ำด้านหน้าน้ำตกมีน้ำใสและไม่เย็นจัดเกินไป เหมาะสำหรับเล่นน้ำ

บ่อน้ำร้อนโป่งอาง
การเดินทาง แยกซ้ายที่หลัก กม.22 บนทางหลวงหมายเลข 1178 ไป 1.7 กม. บ่อน้ำร้อนอยู่ซ้ายมือ ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กม.

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขางเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว สูงประมาณ 1,900 ม. จากระดับน้ำทะเล ภูมิประเทศเป็นเขาหินปูนและหินดินดาน อยู่ติดกับพรมแดนพม่า จึงมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป มีอากาศหนาวเย็นยาวนานเกือบตลอดปีและมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว จึงเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวแห่งแรกของโครงการหลวง โดยเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยผลไม้ที่สำคัญที่สุดของประเทศ นักท่องเที่ยวนิยมมาดูขั้นตอนการปลูกการดูแล และการผลิตพืชผักเมืองหนาว ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม

ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือน ต.ค.-ก.พ. ดอกไม้พันธุ์ไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น บ๊วย ท้อ นางพญาเสือโคร่ง และอื่นๆ จะออกดอกงามสะพรั่งไปทั่วดอย

ที่ตั้งและการเดินทาง ต.แม่งอน อ.ฝาง

รถยนต์ส่วนตัว เดินทางสู่ดอยอ่างขางได้สองเส้นทาง คือ เส้นทางด้าน อ.ไชยปราการ และเส้นทางด้านบ้านอรุโณทัย

ด้าน อ.ไชยปราการ ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.เชียงดาว และ อ.ไชยปราการ ระหว่างทางจาก อ.เชียงดาวไป อ.ไชยปราการ เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว เมื่อถึงหลัก กม.137 บริเวณตลาดแม่ข่า เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1249 ไปอีก 25 กม. เส้นทางสูงชันและคดเคี้ยว หลายช่วงเป็นทางโค้งหักศอก คนขับต้องมีความชำนาญ อันตรายมากโดยเฉพาะเส้นทางลงดอยเที่ยวกลับ

ส่วนด้านบ้านอรุโณทัย ถนนลาดยางตลอดสายค่อนข้างแคบแต่คดเคี้ยวน้อยกว่าเส้นทางขึ้นด้านบ้านแม่ข่า ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 เมื่อผ่าน อ.เชียงดาว ประมาณ 6 กม. เลี้ยวซ้ายที่สามแยกเมืองงาย เข้าทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านเมืองงาย นาหวายจนถึงด่านตรวจของ ตชด. ที่บ้านรินหลวง หลัก กม.31 เลี้ยวขวาไปบ้านอรุโณทัย-ดอยอ่างขาง มีป้ายบอกทางชัดเจน ประมาณ 7 กม. ถึงบ้านอรุโณทัย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1340 สภาพถนนค่อนข้างแคบ ขึ้นดอยอีก 45 กม. บริเวณหลัก กม. 30-34 ก่อนถึงบ้านหลวง ถนนจะเลียบไปตามสันเขา มีทิวทัศน์สวยงามมาก จากนั้นจะเข้าบ้านหลวง บรรจบทางหลวงหมายเลข 1249 ที่ตัดขึ้

ชมการสาธิตการทำร่มและงานหัตถกรรมอื่นๆในหมู่บ้านบ่อสร้าง

บ้านบ่อสร้างมีชื่อเสียงมากในการทำร่ม โดยเฉพาะร่มกระดาษสา มีทั้งร่มที่ระลึกขนาดเล็กทำด้วยผ้าฝ้าย ไนลอน จนกระทั่งร่มขนาดใหญ่กว้างเกือบ 2 ม. ทำมาจากผ้าฝ้าย เพื่อใช้ในการประดับและตกแต่งบ้าน นอกจากนี้ยังมีพัดจีนขนาดใหญ่ด้วย ตลอดเส้นทางช่วงก่อนถึงบ้านบ่อสร้างเป็นแหล่งขายงานหัตถกรรมต่างๆ มากมาย กล่าวได้ว่าถนนสายนี้เป็นอีกเส้นหนึ่งที่นักช้อปปิงไม่ควรพลาด

ที่ตั้ง จากสี่แยกหนองประทีปไปประมาณ 9 กม.

รถประจำทาง นั่งรถสีขาวสายเชียงใหม่-สันกำแพง จอดอยู่หลังตลาดต้นลำไย ริมแม่น้ำปิง หรือขึ้นรถที่หน้าตลาดสันป่าข่อย

ประวัติ กล่าวว่าประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว วัดบ่อสร้างมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า พระอินถา ได้ศึกษาวิชาการทำร่มจากพม่าและนำมาถ่ายทอดให้ชาวบ้าน ซึ่งตอนแรกทำมาจากกระดาษสาทาน้ำมันตังอิ๊ว ต่อมาจึงใช้กระดาษจีนทำร่มแทน พร้อมทั้งมีการวาดรูปดอกไม้ และลวดลายต่างๆ ซึ่งในอดีตทำร่มขนาดกลางที่ใช้กันฝนได้จริงๆ จนกระทั่งประมาณ 20 ปีมานี้เองที่นอกจากจะทำร่มกันแล้ว ชาวบ้านบ่อสร้างยังทำพัดจีนขนาดใหญ่ ติดผ้าไหม ผ้าสีต่างๆ แล้ววาดลวดลายลงไป เป็นที่นิยมอย่างมาก

เมื่อมีผู้ต้องการมาก จากเดิมที่ทำร่มกันเพื่อใช้งานและขายให้ชาวบ้านทั่วไปจึงกลายเป็นทำเพื่อการค้ามากขึ้น สมัยก่อนคนหนึ่งๆ สามารถทำส่วนต่างๆ ของร่มได้ทั้งคัน แต่ปัจจุบันเมื่อกลายมาเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม จึงมีการแบ่งงานกันตั้งแต่คนทำโครงร่มจากไม้ คนติดกระดาษหรือติดผ้า คนวาดดอกไม้ เป็นต้น 

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อ.แม่ริม อ.หางดง อ.เมืองเชียงใหม่ และ อ.แม่แตง จัดตั้งขึ้นเป็น อช.เมื่อ พ.ศ.2524 โดยมียอดดอยสุเทพสูง 1,601 ม. และดอยปุยสูง 1,685 ม. ตั้งอยู่ทางตะวันตกของหุบเขาแม่น้ำปิง เป็นภูเขาหินแกรนิตล้วน พื้นที่ป่ามีความหลากหลายทั้งป่าผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบชื้น และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำปิง คือห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยแม่เหียะ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส ตลอดปี ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นมาก

ใน อช. จะพบพืชไม้ดอกเกือบ 2,000 ชนิด และเชื่อว่ายังมีพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก ป่าผลัดใบที่นี่มีพันธุ์ไม้มากกว่าป่าผลัดใบอื่นๆ ในโลก มีลักษณะแบบป่าในยุโรปมีทั้งต้นสน แมกโนเลีย ต้นโอ๊ก และต้นเกาลัด

นอกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดแล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือนกที่มีประมาณ 300 ชนิด ซึ่งรวมถึงนกอพยพจากตอนเหนือของทวีปเอเชียมาอยู่ในช่วงฤดูหนาวด้วย

- ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถยนต์(ไม่รวมคนขับ)30 บาท(ชำระที่ทางเข้าน้ำตกมณฑาธาร)
- มีบ้านพักและเต็นท์ให้เช่า

ชมเจดีย์เจ็ดยอดและลายปูนปั้นอันงดงาม วัดเจ็ดยอด

วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามมหาวิหาร ได้ชื่อว่ามีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุด คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย จัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ที่ตั้งและการเดินทาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ถ้ามาจาก ถ.ห้วยแก้วด้านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้วิ่งตรงเข้าเมือง เมื่อถึงสี่แยกรินคำให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซุปเปอร์ไฮเวย์(เชียงใหม่-ลำปาง) โดยวิ่งบนทางคู่ขนานประมาณ 1 กม. วัดเจ็ดยอดจะอยู่ซ้ายมือ

ประวัติ ราวปี พ.ศ.1999 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรล้านนาไทย โปรดฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น แล้วโปรดฯ ให้ปลูกต้นมหาโพธิ์ในบริเวณพระอารามแห่งนั้น เพราะเหตุที่มีต้นมหาโพธิ์อยู่ในวัด จึงปรากฏชื่อว่า “วัดโพธารามมหาวิหาร” เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระโพธิรังสีมหาเถระ ผู้ตนนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์ 

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขางเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว สูงประมาณ 1,900 ม. จากระดับน้ำทะเล ภูมิประเทศเป็นเขาหินปูนและหินดินดาน อยู่ติดกับพรมแดนพม่า จึงมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป มีอากาศหนาวเย็นยาวนานเกือบตลอดปีและมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว จึงเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวแห่งแรกของโครงการหลวง โดยเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยผลไม้ที่สำคัญที่สุดของประเทศ นักท่องเที่ยวนิยมมาดูขั้นตอนการปลูกการดูแล และการผลิตพืชผักเมืองหนาว ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม

ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือน ต.ค.-ก.พ. ดอกไม้พันธุ์ไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น บ๊วย ท้อ นางพญาเสือโคร่ง และอื่นๆ จะออกดอกงามสะพรั่งไปทั่วดอย

ที่ตั้งและการเดินทาง ต.แม่งอน อ.ฝาง

รถยนต์ส่วนตัว เดินทางสู่ดอยอ่างขางได้สองเส้นทาง คือ เส้นทางด้าน อ.ไชยปราการ และเส้นทางด้านบ้านอรุโณทัย

ด้าน อ.ไชยปราการ ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.เชียงดาว และ อ.ไชยปราการ ระหว่างทางจาก อ.เชียงดาวไป อ.ไชยปราการ เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว เมื่อถึงหลัก กม.137 บริเวณตลาดแม่ข่า เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1249 ไปอีก 25 กม. เส้นทางสูงชันและคดเคี้ยว หลายช่วงเป็นทางโค้งหักศอก คนขับต้องมีความชำนาญ อันตรายมากโดยเฉพาะเส้นทางลงดอยเที่ยวกลับ

ส่วนด้านบ้านอรุโณทัย ถนนลาดยางตลอดสายค่อนข้างแคบแต่คดเคี้ยวน้อยกว่าเส้นทางขึ้นด้านบ้านแม่ข่า ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 เมื่อผ่าน อ.เชียงดาว ประมาณ 6 กม. เลี้ยวซ้ายที่สามแยกเมืองงาย เข้าทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านเมืองงาย นาหวายจนถึงด่านตรวจของ ตชด. ที่บ้านรินหลวง หลัก กม.31 เลี้ยวขวาไปบ้านอรุโณทัย-ดอยอ่างขาง มีป้ายบอกทางชัดเจน ประมาณ 7 กม. ถึงบ้านอรุโณทัย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1340 สภาพถนนค่อนข้างแคบ ขึ้นดอยอีก 45 กม. บริเวณหลัก กม. 30-34 ก่อนถึงบ้านหลวง ถนนจะเลียบไปตามสันเขา มีทิวทัศน์สวยงามมาก จากนั้นจะเข้าบ้านหลวง บรรจบทางหลวงหมายเลข 1249 ที่ตัดขึ้นดอยอ่างขางจากด้านบ้านแม่ข่า